อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
1. ด้านกายภาพ
1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ของที่ว่าการอำเภอจะนะ เป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร ประกอบด้วยพื้นที่รับผิดชอบ 8 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1,2,3,4,5,6,7 และ 8 และมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้

ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับ อ่าวไทย
ทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับ ตำบลบ้านนา ตำบลป่าชิง
ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับ ตำบลนาทับ ตำบลจะโหนง และตำบลคลองเปียะ
ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับ ตำบลสะกอม

1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
ภูมิประเทศขององค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม ตั้งอยู่ทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก พื้นที่ทางทิศเหนือจะมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย หรือทรายล้วนเพราะเป็นพื้นที่ติดต่อกับทะเล ส่วนพื้นที่ทั่วไปจะมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มสลับกับป่า และป่ายางพารา
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
จังหวัดสงขลา ตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมเมืองร้อน มีลมมรสุมพัดผ่านเป็นประจำทุกปี คือลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงกลางเดือนมกราคม และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม จากอิทธิพลของลมมรสุมดังกล่าว ส่งผลให้มีฤดูการ 2 ฤดู คือ

1. ฤดูฝน
เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนมกราคม จังหวัดสงขลาจะมีฝนตกทั้งในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ แต่ในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีฝนตกชุกในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม จากสถิติข้อมูลปริมาณน้ำฝนและจำนวนวันฝนตกทั้งปี เปรียบเทียบกัน 3 ปี พบว่า ปี พ.ศ. 2563 มีจำนวนวันฝนตก 173 วัน ปริมาณน้ำฝน 2,764.2 มม. มากว่าปี พ.ศ. 2561 ซึ่งมีจำนวนวันฝนตกทั้งปี 158 วัน ปริมาณน้ำฝน 2,142.2 มม. จากสถิติข้อมูลอุณหภูมิเฉลี่ยความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย และความกดอากาศที่ระดับทะเลปานกลางเฉลี่ยปี พ.ศ. 2561 -2563 มีความใกล้เคียงกัน รายละเอียดตามตารางที่ 1 และตารางที่ 2

ตารางที่ 1 แสดงสถิติข้อมูลปริมาณน้ำฝน และจำนวนวันฝนตก

เดือน

ปริมาณน้ำฝน (มม.)

จำนวนวันที่ฝนตกทั้งปี

2561

2562

2563

2561

2562

2563

มกราคม

193.8

171.2

1.9

18

11

5

กุมภาพันธ์

99.9

14.7

64.0

3

5

9

มีนาคม

1.4

26.1

7.0

1

2

2

เมษายน

70.4

21.1

126.5

7

3

10

พฤษภาคม

151.2

157.6

22.5

13

19

11

มิถุนายน

181.7

83.2

175.5

13

12

19

กรกฎาคม

79.3

168.3

138.6

13

13

16

สิงหาคม

21.7

52.4

245.1

4

13

14

กันยายน

110.1

103.2

146.8

19

14

18

ตุลาคม

456.8

210.3

285.6

25

17

18

พฤศจิกายน

383.1

256.1

925.8

20

23

28

ธันวาคม

392.8

107.9

624.9

22

15

23

รวม

2,142.2

1,372.1

2,764.2

158

147

173

(ที่มา : ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก,2564)

ตารางที่ 2 แสดงอุณหภูมิเฉลี่ย ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย และความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเลปานกลางเฉลี่ย

เดือน

อุณหภูมิเฉลี่ย (C)

ความชื้อสัมพันธ์เฉลี่ย

(เปอร์เซ็นต์)

ความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเลปานกลางเฉลี่ย (มิลลิบาร์)

2561

2562

2563

2561

2562

2563

2561

2562

2563

มกราคม

26.8

27.8

27.9

84

77

76

1009.7

1012.0

1011.8

กุมภาพันธ์

27.4

28.1

27.9

78

76

76

1011.7

1012.5

1012.5

มีนาคม

28.4

28.6

28.7

78

75

77

1010.1

1010.9

1010.6

เมษายน

28.7

29.7

29.4

80

76

78

1009.2

1009.2

1010.2

พฤษภาคม

28.7

29.5

29.4

82

75

79

1009.0

1009.0

1008.5

มิถุนายน

28.5

29.1

28.3

80

76

81

1008.9

1008.6

1008.7

กรกฎาคม

28.8

28.8

28.1

78

75

80

1008.2

1009.2

1008.2

สิงหาคม

29.2

28.9

28.5

74

73

79

1008.5

1009.0

1008.2

กันยายน

27.7

28.3

27.9

80

79

80

1009.7

1010.5

1008.9

ตุลาคม

27.5

27.7

27.2

83

81

83

1010.7

1010.0

1008.4

พฤศจิกายน

27.6

27.8

27.0

83

81

86

1010.4

1010.3

1010.1

ธันวาคม

27.6

27.4

26.6

83

78

85

1010.7

1011.6

1010.2

เฉลี่ย

28.1

28.5

28.1

80

77

80

1009.7

1010.2

1009.7

(ที่มา : ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก,2564)

2. ฤดูร้อน
เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม ซึ่งจะเป็นช่วงหลังจากหมดมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศจะเริ่มร้อนและอากาศจะมีอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน วิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์ด้านภูมิอากาศในอนาคต แนวโน้มสถานการณ์ในอนาคต ปี 2564 – 2570 สภาพอากาศในปี 2564 ช่วงเดือนมกราคม – เมษายน 2564 ปริมาณน้ำฝนจะสูงกว่าค่าปกติ ประมาณ 10-20% และหลังจากนั้น เดือนพฤษภาคม – ธันวาคม 2564 ปริมาณน้ำฝนจะใกล้เคียงกับค่าปกติ ส่วนอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และความกดอากาศจะใกล้เคียงกับค่าปกติ ปี 2565 – 2570 คาดว่าปริมาณน้ำฝน ความชื้นสัมพัทธ์ และความกดอากาศ จะใกล้เคียงกับค่าปกติ และเป็นไปตามฤดูกาล เว้นแต่อุณหภูมิเฉลี่ยมีแนวโน้มสูงขึ้นเล็กน้อยประมาณ 0.1 -0.5 องศาเซลเซียส
1.4 ลักษณะของดิน
ลักษณะของดินในพื้นที่โดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทรายหรือทรายล้วน มีพื้นราบลุ่มสลับกับป่า และป่ายางพารา
- พื้นที่ลุ่มต่ำชายทะเล เป็นดินร่วมหรือดินเหนียวลึกมากที่มีชั้นดินเลนของตะกอนน้ำทะเลและมีสารประกอบกำมะถันมากในช่วงความลึกตื้นกว่า 100 เซนติเมตร เกิดในบริเวณที่ลุ่มต่ำชายทะเลหรือพื้นที่พรุสีเทา มีจุดประสีเหลือง หรือสีน้ำตาล และดินล่างเป็นสีเทาปนน้ำเงินของตะกอนน้ำทะเล การระบายน้ำเลว ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก มีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ การระบายน้ำเลว และมีน้ำท่วมขังนานในฤดูฝนความเหมาะสมในการปลูกพืช ข้าว ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว
- พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดถึงเป็นลูกคลื่นลอนชันที่เป็นดินตื้นถึงลึกปานกลาง เป็นดินร่วมเหนียวปนทราย หรือดินร่วมที่มีก้อนกรวด หรือเศษหินเนื้อละเอียด หรือหินเนื้อทรายปะปนมาก อยู่ในความลึกตื้นกว่า 100 เซนติเมตร จากผิวดิน พบอยู่กับที่หรือเคลื่อนย้ายลงมาทับถมในบริเวณชายเนินเขา พบในเขตชุ่มชื้นที่มีฝนตกชุม สีดินเป็นสีเหลือง หรือสีแดง มีการระบายน้ำดีปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดแก่ เป็นดินตื้นถึงลึกปานกลางที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ ขาดแคลนน้ำ และดินง่ายต่อการถูกชะล้างพังทลาย สูญเสียหน้าดินความเหมาะสมในการปลูกพืช ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว มะม่วงหิมพานต์ สับปะรด
- พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดที่เป็นดินร่วมปนทรายเป็นดินรวนปนทรายลึกมากที่เกิดอยู่กับที่หรือถูกเคลื่อนย้ายมาทับถมของหินหยาบที่พบในเขตชุ่มชื้นที่มีฝนตกชุมสีน้ำตาลสีเหลือง หรือสีแดง การระบายน้ำดี ปฎิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดแก่เป็นดินค่อนข้างเป็นทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำขาดแคลนน้ำในช่วงเพาะปลูก และดินง่ายต่อการถูกชะล้างพังทลายสูญเสียหน้าดิน ความเหมาะสมในการปลูกพืช มะม่วงหิมพานต์
- พื้นที่สันทรายชายทะเล เป็นดินทรายจัด ที่มีและไม่มีชั้นดานอินทรีย์ในพื้นที่บริเวณสันทรายทะเลสีน้ำตาลหรือสีขาว บางพื้นที่พบชั้นดาลอินทรีย์สีน้ำตาลเข้ม ลึกปานกลาง การระบายน้ำดีถึงปานกลาง ปฎิกิริยาดินเป็นกรดแก่ถึงเป็นกรดปานกลาง เป็นดินทรายจัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำมากขาดแคลนน้ำ ง่ายต่อการถูกชะล้างพังทลายสูญเสียหน้าดิน และบางพื้นที่พบชั้นดานอินทรีย์ในความลึก1เมตร ความเหมาะสมในการปลูกพื้น มะพร้าว

2. ด้านการเมือง/การปกครอง
2.1 เขตการปกครอง
องค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชันมีพื้นที่รับผิดชอบคลอบคลุมทั้งตำบลตลิ่งชัน ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 31.1 ตารางกิโลเมตร เท่ากับ 19,437 ไร่ แบ่งการปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

ชื่อกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน

1

บ้านสุเหร่า

นายสอมะ ดินอะ

2

บ้านตลิ่งชัน

นายอาโหรน หมัดเส๊าะ

3

บ้านป่างาม

นายจิรวัฒน์ สนิหลำ (กำนัน)

4

บ้านป่าเส

นายสะมะแอ อิมิง

5

บ้านนนท์

นายหมาด เหล๊าะเหม

6

บ้านนาตีน

นายมะหมุ มินหีม

7

บ้านในไร่

นายสุทธิชัย หมะเหม

8

บ้านวังงู

นายอับดลรอนี  แก้วมณีโชติ


2.2 การเลือกตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน มีเขตการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน (ส.อบต.) จำนวน 8 เขตเลือกตั้ง มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน จำนวนทั้งสิ้น 8 คน

3. ประชากร

3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
องค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน มีพื้นที่ความรับผิดชอบครอบคลุมทั้ง 8 หมู่บ้าน โดยมีจำนวนประชากร ตำบลตลิ่งชัน แยกตามหมู่บ้านตามทะเบียนราษฎร์ ของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ณ เดือน เมษายน 2564

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

จำนวนครัวเรือน

ประชากรชาย

ประชากรหญิง

ประชากรรวม

1

บ้านสุเหร่า

189

444

463

907

2

บ้านตลิ่งชัน

510

942

886

1,828

3

บ้านป่างาม

460

1,108

989

2,097

4

บ้านป่าเส

280

605

636

1,241

5

บ้านนนท์

185

424

394

818

6

บ้านนาตีน

234

680

682

1,362

7

บ้านในไร่

230

583

534

1,117

8

บ้านวังงู

300

707

679

1,386

รวม

2,388

5,493

5,263

10,756

ที่มา : ฝ่ายทะเบียนราษฎร์อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ณ. เดือนเมษายน 2564

แผนภูมิแสดงจำนวนครัวเรือนและประชากร



หมู่ที่

หมู่บ้าน

จำนวนประชากรขององค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน

(เปรียบเทียบย้อนหลัง ๓ ปี)

พ.ศ. 2560

พ.ศ. 2561

พ.ศ. 2562

พ.ศ. 253

ชาย

หญิง

ชาย

หญิง

ชาย

หญิง

ชาย

หญิง

1

บ้านสุเหร่า

444

436

440

439

440

439

444

763

2

บ้านตลิ่งชัน

932

863

940

868

941

875

942

886

3

บ้านป่างาม

1,050

937

1,069

966

1,072

967

1,108

989

4

บ้านป่าเส

575

615

584

618

590

622

605

636

5

บ้านนนท์

417

398

419

400

412

394

424

394

6

บ้านนาตีน

662

669

663

664

665

669

680

682

7

บ้านในไร่

567

530

566

535

567

533

583

534

8

บ้านวังงู

678

634

687

649

690

658

707

679

รวม

5,082

5,082

5,368

5,139

5,377

5,157

5,493

5,263

10,407

10,507

10,534

10,756

ที่มา : ฝ่ายทะเบียนราษฎร์อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ณ. เดือนเมษายน 2564

3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร

จำนวนประชากรแยกตามช่วงอายุ


ช่วงอายุ

เพศชาย

คน

เพศหญิง

คน

รวม

คน

น้อยกว่า 1 ปี

82

74

156

1 ปี – 2 ปี

157

158

315

3 ปี – 5 ปี

267

228

495

6 ปี – 11 ปี

608

551

1,159

12 ปี – 14 ปี

301

250

551

15 ปี – 17 ปี

270

247

517

18 ปี – 25 ปี

713

674

1,387

26 ปี – 49 ปี

2,001

1,894

3,895

50 ปี – 60 ปี

595

545

1,140

มากกว่า 60 ปี ขึ้นไป

499

642

1,141

รวม

5,493

5,263

10,756

ที่มา : ฝ่ายทะเบียนราษฎร์อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ณ. เดือนเมษายน 2564

แผนภูมิแสดงจำนวนประชากรแยกตามช่วงอายุ



4. สภาพทางสังคม

4.1 การศึกษา
โรงเรียนประถมศึกษา 4 แห่งของรัฐ
- โรงเรียนบ้านสุเหร่า
- โรงเรียนบ้านป่างาม (ขยายโอกาส)
- โรงเรียนบ้านตลิ่งชัน (ขยายโอกาส)
- โรงเรียนบ้านนนท์
โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง (เอกชน)
- โรงเรียนตัสดีกียะห์ (ระดับ อนุบาล และ ม.1 – ม.6)
โรงเรียนสอนศาสนา 9 แห่ง
- ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ตัสดีกียะห์ หมู่ที่ 1
- ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) อัลบะรี หมู่ที่ 2
- ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ฮิดายาตุลซาลีกิน หมู่ที่ 2
- ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) สุบบุน หมู่ที่ 3
- ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ดารุลอีม่าน หมู่ที่ 4
- ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) อัลฟิรดาว หมู่ที่ 5
- ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) อัศรอฟียะห์ หมู่ที่ ๖
- ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) บะห์รุดดีน หมู่ที่ 7
- ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) มูฮาญีรีน หมู่ที่ 8
โรงเรียนฮาฟิซ สอนอัลกรุอ่าน 2 แห่ง (เอกชน)
- โรงเรียนตะฟีซุลกรุอาน หมู่ที่ 4
- โรงเรียนนูรุลชาฮาดะห์ หมู่ที่ 6
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตลิ่งชัน
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่างาม
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสุเหร่า
จำนวนเด็กนักเรียนระดับก่อนปฐมวัย (2-4 ปี) สังกัดสถานศึกษาของ อบต.ตลิ่งชัน ปีการศึกษา 2564

ชื่อสถานศึกษา

จำนวนเด็กนักเรียน (คน)

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสุเหร่า

45

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตลิ่งชัน

76

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่างาม

45

รวมทั้งสิ้น

166


จำนวนเด็กนักเรียน สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2564

ชื่อสถานศึกษา

จำนวนเด็กนักเรียน (คน)

อนุบาล 1

อนุบาล 2

อนุบาล 3

ป.1

ป.2

ป.3

ป.4

ป.5

ป.6

รวมทั้งสิ้น

โรงเรียนบ้านสุเหร่า

-

16

21

43

33

21

43

40

37

254

โรงเรียนบ้านตลิ่งชัน

5

18

23

17

28

24

36

26

15

192

โรงเรียนบ้านป่างาม

-

19

25

25

25

23

26

23

28

195

โรงเรียนบ้านนนท์

4

5

7

11

6

9

10

11

6

69


4.2 สาธารณสุข
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตลิ่งชัน จำนวน 1 แห่ง
- อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100
- อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตลิ่งชัน (อสม.) จำนวน 110 คน

4.3 อาชญากรรม
ตำบลตลิ่งชันอยู่ในเขตพื้นที่การดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย การป้องกันปราบปรามอาชญากรรมของสถานีตำรวจภูธรจะนะ และยังมีการจัดชุดเวรยามประจำหมู่บ้านจากอาสาสมัครต่างๆ คอยสอดส่องตรวจตราดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่อีกด้วย มีจำนวนป้อมยามหมู่บ้าน 8 แห่ง

ข้อมูลอาชญากรรมภายในตำบลตลิ่งชัน

ลำดับที่

ประเภท

ปี 2563

ปี 2564

1

ลักทรัพย์/ชิงทรัพย์

5

6

2

ฉ้อโกง

-

-

3

ฆ่าผู้อื่น

-

-

4

ข่มขืน

-

-

5

ยาเสพติด

68

30

6

อื่นๆ (ระบุ) การพนัน

4

1

รวม

77

37

ที่มา : สถานีตำรวจภูธรจะนะ ณ. เดือน สิงหาคม 2564

4.4 ยาเสพติด

ประเภทความผิด

2562

2563

เปรียบเทียบจับกุม

จับกุม

(ราย)

ผู้ต้องหา

(คน)

จับกุม

(ราย)

ผู้ต้องหา

(คน)

+ เพิ่ม

- ลด

%

1.ยาเสพติด

75

77

63

75

12

1.33

   1.1 ผลิต

2

2

2

3

0

0

   1.2 นำเข้า

0

0

0

0

0

0

  1.3 ส่งออก

0

0

0

0

0

0

  1.4 จำหน่าย

0

0

0

0

0

0

  1.5 ครอบครองเพื่อจำหน่าย

19

21

19

29

0

0

  1.6 ครอบครอง

27

27

20

21

7

25.93

  1.7 เสพยาเสพติด

27

27

22

22

5

18.52

ที่มา : สถานีตำรวจภูธรจะนะ ณ. เดือนมิถุนายน 2564

4.5 การสังคมสังเคราะห์
องค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน ได้ดำเนินการด้านสังคมสังเคราะห์ ดังนี้
(1) ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์
(2) รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
(3) ประสานการทำบัตรผู้พิการ
(4) ตั้งโครงการช่วยเหลือผู้ยากจน ยากไร้ รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง
มีการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพให้แก่ ผู้สูงอายุ จำนวน 1,106 ราย
ผู้พิการ จำนวน 271 ราย
ผู้ติดเชื้อเอดส์ จำนวน 21 ราย
ข้อมูล ณ เดือน มกราคม ๒๕๖5

5. ระบบบริการพื้นฐาน
5.1 การคมนาคมขนส่ง
องค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน ไม่มี บขส. แต่มีเส้นทางคมนาคมสายหลักดังนี้
- ถนนลาดยางสายจะนะ - บ้านตลิ่งชัน
- ถนนลาดยางสายบ้านนนท์ – บ้านขวด
- ถนนลาดยางสายบ้านป่างาม – แหลมเสม็ด
- ถนนลาดยางสายสะกอม – ตลิ่งชัน – นาทับ

ข้อมูลด้านคมนาคม ในพื้นที่ตำบลตลิ่งชัน

ลำดับที่

การคมนาคม/การจราจร

จำนวน

1

ถนนลูกรัง

3 สาย

2

ถนนลาดยาง

14 สาย

3

ถนนคอนกรีต

90สาย

4

สะพานคอนกรีต

10 แห่ง

5

สะพานเหล็ก

-

6

สะพานไม้

1 แห่ง










5.2 การไฟฟ้า
จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ ภายในตำบลตลิ่งชัน จำนวน 2,188 ครัวเรือน
5.3 การประปา
ประปาหมู่บ้าน ในพื้นที่ตำบลตลิ่งชัน มีทั้งหมด จำนวน 15 แห่ง จำนวน 1,412 ครัวเรือน ดังนี้

ลำดับที่

ข้อมูลประปาหมู่บ้าน

หมู่บ้านที่ตั้งประปา (หมู่ที่)

จำนวนครัวเรือที่ใช้น้ำประปา

1

น้ำประปาหมู่ที่ 1 บ้านสุเหร่า

68

2

น้ำประปาหมู่ที่ 1 บ้านสุเหร่า (ใหม่)

120

3

น้ำประปาหมู่ที่ 2 บ้านโคกยูง

72

4

น้ำประปาหมู่ที่ 3 บ้านป่างาม

108

5

น้ำประปาหมู่ที่ 3 สนามหวังดี

64

6

น้ำประปาหมู่ที่ 3 บ้านปลักคุย

56

7

น้ำประปาหมู่ที่ 3 บ้านปลักคาย

57

8

น้ำประปาหมู่ที่ 3 บ้านปลักเสือตรำ

60

9

น้ำประปาหมู่ที่ 4 บ้านป่าเส

59

10

น้ำประปาหมู่ที่ 4 มัสยิดป่าเส (ใหม่)

52

11

น้ำประปาหมู่ที่ 4 บ้านตากแดด

26

12

น้ำประปาหมู่ที่ 5 บ้านนนท์

150

13

น้ำประปาหมู่ที่ 6 บ้านนาตีน

217

14

น้ำประปาหมู่ที่ 7 บ้านในไร่

160

15

น้ำประปาหมู่ที่ 8 บ้านวังงู

143























จำนวนครัวเรือนที่ใช้ประปาส่วนภูมิภาค ในพื้นที่ตำบลตลิ่งชัน ดังนี้

ลำดับที่

ข้อมูลประปาส่วนภูมิภาค

หมู่บ้านที่ใช้น้ำประปา (หมู่ที่)

จำนวนครัวเรือที่ใช้น้ำประปาส่วนภูมิภาค

1

น้ำประปาส่วนภูมิภาค หมู่ที่ 2 บ้านตลิ่งชัน

388

2

น้ำประปาส่วนภูมิภาค หมู่ที่ 7 บ้านในไร่

34

3

น้ำประปาส่วนภูมิภาค หมู่ที่ 8 บ้านวังงู

117












5.4 โทรศัพท์
- ประชาชนส่วนใหญ่ใช้เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ติดตามตัวเป็นส่วนใหญ่
- ระบบเสียงตามสายอัตโนมัติ จำนวน 8 หมู่บ้าน

5.5 ระบบโลจิสติกส์ (Logistics) หรือการขนส่ง
- ที่ทำการไปรษณีย์ที่ใกล้ที่สุด ได้แก่ ไปรษณีย์จะนะ ตั้งอยู่ ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ห่างจากตำบลตลิ่งชัน ประมาณ 5 กิโลเมตร
- มีหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้านมีครบทั้ง ๘ หมู่บ้าน
- มีบริการให้ใช้อินเตอร์เน็ตฟรี ที่สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน
- องค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน มีวัสดุ ครุภัณฑ์ในการปฏิบัติหน้าที่ แต่ก็มีบางรายการที่ยังจาดแคลนเนื่องจากมีงบประมาณไม่เพียงพอ วัสดุ ครุภัณฑ์ต่างๆ นั้นมีไว้สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชันในการดำเนินภารกิจบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนเท่านั้น แต่หากประชาชนเดือดร้อน หรือหน่วยงานอื่นเดือนร้อน ก็สามารถมายืมใช้ได้
- ครุภัณฑ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชันในการดำเนินภารกิจบริการสาธารณะ

ลำดับที่

รายการเครื่องมืออุปกรณ์

จำนวน

หน่วย

1

รถบรรทุกแบบเทท้าย ขนาด 6 ล้อ

1

คัน

2

รถขยะแบบอัดท้าย 

1

คัน

3

รถตักหน้า –ขุดหลัง (JCB)

1

คัน

4

รถยนต์นั่งส่วนบุคคลนั่งไม่เกิน 7 คน

3

คัน

5

รถพยาบาลกู้ชีพ

1

คัน

6

รถบรรทุกน้ำเอนกประสงค์

1

คัน

7

รถจักรยานยนต์

5

คัน

8

รถบรรทุกน้ำเอนกประสงค์ ขนาดความจุ 8,000 ลิตร

1

คัน

9

รถกระเช้าไฟฟ้า

1

คัน

10

เครื่องตัดหญ้า

3

เครื่อง

11

เครื่องพ่นหมอกควัน

4

เครื่อง

12

เครื่องสูบน้ำแบบท่อสูบน้ำพญานาค

2

เครื่อง

13

เครื่องสูบน้ำแบบหอยโข่ง

3

เครื่อง


6. ระบบเศรษฐกิจ
6.1 การเกษตร
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ ทำสวนยางพารา ปลูกแตงโม ฟักทอง ข้าวโพด มัลเบอร์รี่ และปลูกผัก ซึ่งมีการเลี้ยงสัตว์เพื่อการจำหน่ายควบคู่กันไป อาชีพรองลงมาคือ อาชีพรับจ้างซึ่งเป็นการรับจ้างทำการเกษตรกรรมและรับจ้างทั่วไป นอกจากนี้ยังมีการประกอบอาชีพค้าขายและรับราชการบ้างเล็กน้อย
แบบแสดงข้อมูลด้านการเกษตรตำบลตลิ่งชัน
ประจำปี พ.ศ. 2564

ปี

2564

นาข้าว

พืชไร่

พืชสวนอื่นๆ

พท.เพาะปลูก (ไร่)

พท.เพาะปลูก ยางพารา (ไร่)

พท.เพาะปลูกปาล์มน้ำมัน (ไร่)

...(ไร่)

พืชผัก (ไร่)

ไม้ยืนต้น (ไร่)

ไม้ผล (ไร่)

ไม้ดออก (ไร่)

... (ไร่)

หมู่ที่ 1 บ้านสุเหร่า

 

150.69

 

 

 

 

2.25

 

 

หมู่ที่ 2 บ้านตลิ่งชัน

 

168.84

140.89

 

63

 

6.5

 

 

หมู่ที่ 3 บ้านป่างาม

90

1182.61

499.83

 

49.24

 

14.5

 

 

หมู่ที่ 4 บ้านป่าเส

 

419.14

244.21

 

1

 

2

 

 

หมู่ที่ 5 บ้านนนท์

32

223.74

22.92

 

10

 

7.9

 

 

หมู่ที่ 6 บ้านนาตีน

 

183.41

3.37

 

13.5

 

1.5

 

 

หมู่ที่ 7 บ้านในไร่

 

-

2

 

26

 

 

 

 

หมู่ที่ 8 บ้านวังงู

 

39.33

 

 

 

 

 

 

 

รวม

122

2,366.76

913.82

 

162.69

 

35

 

 

ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอจะนะ ณ. เดือนกันยายน 2564

6.2 การประมง

ข้อมูลประมงน้ำจืด ตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

หมู่บ้าน

ชื่อฟาร์ม

เนื้อที่เลี้ยงรวมทั้งหมด

กลุ่มสัตว์น้ำ

พันธุ์หลัก

ประเภทการเลี้ยง

จำนวนบ่อ

หมู่ที่ 2 บ้านตลิ่งชัน

เส๊าะฟาร์ม

1.5000

ฟาร์มเดี่ยว

ปลาน้ำจืด

ปลาดุก

3 บ่อดิน

เหรียมฟาร์ม

0.5000

ฟาร์มเดี่ยว

ปลาน้ำจืด

ปลาดุก

1 บ่อดิน

อมรากานต์ฟาร์ม

0.2500

ฟาร์มเดี่ยว

ปลาน้ำจืด

ปลาหมอไทย

1 บ่อดิน

นพดลฟาร์ม

0.7500

ฟาร์มเดี่ยว

ปลาน้ำจืด

ปลาดุก

4 บ่อดิน

มูหัมหมัดฟาร์ม

1.5000

ฟาร์มเดี่ยว

ปลาน้ำจืด

ปลาดุก

2 บ่อดิน

หมู่ที่ 3 บ้านป่างาม

ฮาลีม๊ะฟาร์ม

1.0000

ฟาร์มเดี่ยว

ปลาน้ำจืด

ปลาดุก

1 บ่อดิน

ตากิ้มฟาร์ม

0.1300

ฟาร์มเดี่ยว

ปลาน้ำจืด

ปลาดุก

1 บ่อดิน

บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

0.6250

ฟาร์มเดี่ยว

สัตว์น้ำอื่นๆ

จระเข้น้ำจืด

10บ่อซีเมนต์

หมู่ที่ 4 บ้านป่าเส

ต่อบีย๊ะฟาร์ม

4.0000

ฟาร์มเดี่ยว

ปลาน้ำจืด

ปลาทับทิม/นิลแดง

1 บ่อดิน

กอยาฟาร์ม

0.1300

ฟาร์มเดี่ยว

ปลาน้ำจืด

ปลาดุก

1 บ่อดิน

กอเส็มฟาร์ม

0.1300

ฟาร์มเดี่ยว

ปลาน้ำจืด

ปลาดุก

1 บ่อดิน

นิเส็นฟาร์ม

4.5000

ฟาร์มเดี่ยว

ปลาน้ำจืด

ปลาดุก

4 บ่อดิน

วาฮะฟาร์ม

0.5000

ฟาร์มเดี่ยว

ปลาน้ำจืด

ปลาดุก

2 บ่อดิน

สะมะแอฟาร์ม

0.1300

ฟาร์มเดี่ยว

ปลาน้ำจืด

ปลาดุก

1 บ่อดิน

หมู่ที่ 5 บ้านนนท์

โศรยาฟาร์ม

0.1250

ฟาร์มเดี่ยว

ปลาน้ำจืด

ปลาดุก

2 บ่อดิน

อุไมกาสงฟาร์ม

0.2500

ฟาร์มเดี่ยว

ปลาน้ำจืด

ปลาดุก

1 บ่อดิน

หมู่ที่ 7 บ้านในไร่

เจ๊ะสปีเย๊าะฟาร์ม

0.6300

ฟาร์มเดี่ยว

ปลาน้ำจืด

ปลาดุก

5 บ่อดิน

ซารีฟาร์ม

1.2500

ฟาร์มเดี่ยว

ปลาน้ำจืด

ปลาดุก

3 บ่อดิน

สะเด๊าะฟาร์ม

2.0000

ฟาร์มเดี่ยว

ปลาน้ำจืด

ปลาดุก

2 บ่อดิน

สากีน๊ะฟาร์ม

0.1300

ฟาร์มเดี่ยว

ปลาน้ำจืด

ปลาดุก

1 บ่อดิน

สารีขอฟาร์ม

0.5000

ฟาร์มเดี่ยว

ปลาน้ำจืด

ปลาดุก

1 บ่อดิน

นิมิตรฟาร์ม

1.5000

ฟาร์มเดี่ยว

ปลาน้ำจืด

ปลาดุก

3 บ่อดิน

หมัดฟาร์ม

1.0000

ฟาร์มเดี่ยว

ปลาน้ำจืด

ปลาดุก

3 บ่อดิน

หวังฟาร์ม

2.0000

ฟาร์มเดี่ยว

ปลาน้ำจืด

ปลาดุก

2 บ่อดิน

โหดฟาร์ม

0.2500

ฟาร์มเดี่ยว

ปลาน้ำจืด

ปลาดุก

2 บ่อดิน

หมู่ที่ 8 บ้านวังงู

อูสันฟาร์ม

2.0000

ฟาร์มเดี่ยว

ปลาน้ำจืด

ปลาดุก

3 บ่อดิน

รอมหลีฟาร์ม

0.2500

ฟาร์มเดี่ยว

ปลาน้ำจืด

ปลาดุก

1 บ่อดิน

ที่มา : ประมงอำเภอจะนะ กันยายน 2564

6.3 การปศุสัตว์
การปศุสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม

รายงานจำนวนปศุสัตว์ และ พืชอาหารสัตว์ ปี 2564  ตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

หมู่บ้าน

รวมเกษตรกร

ผู้เลี้ยงสัตว์

(ราย)

รวมเกษตรกรที่ปลูกพืชอาหารสัตว์ (ราย)

โคเนื้อ

ไก่

เป็ด

แพะ

แกะ

หญ้าหวายข้อ

จำนวน

(ตัว)

เกษตรกร

(ราย)

จำนวน

(ตัว)

เกษตรกร

(ราย)

จำนวน

(ตัว)

เกษตรกร

(ราย)

จำนวน

(ตัว)

เกษตรกร

(ราย)

จำนวน

(ตัว)

เกษตรกร

(ราย)

จำนวน

(ไร่)

เกษตรกร

(ราย)

1 บ้านสุเหร่า

2

0

0

0

0

0

0

0

16

2

0

0

0

0

2 บ้านตลิ่งชัน

213

0

505

43

41,197

195

4,069

92

550

38

0

0

0

0

๓ บ้านป่างาม

26

0

173

14

1,002,576

21

131

6

56

10

43

1

0

0

๔ บ้านป่าเส

62

0

117

17

4,507

58

563

29

120

18

0

0

0

0

๕ บ้านนนท์

89

0

78

14

2,016

82

157

10

89

12

13

2

0

0

๖ บ้านนาตีน

11

0

39

8

149

9

117

6

22

4

0

0

0

0

๗ บ้านในไร่

90

0

179

19

13,682

66

1,044

10

150

14

7

1

0

0

๘ บ้านวังงู

250

1

199

23

43,174

223

6,153

133

607

58

0

0

3

1

ไม่ระบุ หมู่ที่-หมู่บ้าน

63

0

156

19

28,722

44

4,032

18

197

20

1

1

0

0

รวม

806

1

1,446

157

1,136,023

698

16,266

304

1,807

176

64

5

3

1

ที่มา : ปศุสัตว์อำเภอจะนะ กันยายน 2564

6.4 การบริการ
1. หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน
 - ร้านเภสัช จำนวน 1 แห่ง
 - ร้านขายของชำมีทุกหมู่บ้าน

6.5 การท่องเที่ยว
 - หาดรั้วสน
 - ชายหาดตลิ่งชัน
 - ตลิ่งชันโฮมสเตย์

6.6 อุตสาหกรรม
โรงงานอุตสาหกรรม มีจำนวน 3 แห่ง
1. โรงแยกก๊าซธรรมชาติ (บริษัท ทรานส์ ไทย - มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำกัด
2. บริษัท ปตท. (จำกัด) มหาชน
 - ฝ่ายปฏิบัติการก๊าซสำหรับยานยนต์
 - ส่วนปฏิบัติการระบบท่อเขต 7
3. บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลตลิ่งชัน ปี 2564

6.8 แรงงาน
ข้อมูลด้านแรงงาน ระดับตำบลตลิ่งชัน
ไตรมาส 1/2564 ระหว่างเดือนตุลาคม 2563 – ธันวาคม 2563
ในพื้นที่ของบัณฑิตแรงงาน สามารถประมวลผลและ สรุปสถานการณ์ด้านแรงงานระดับตำบลได้ดังนี้

1. โครงสร้างของกำลังแรงงาน
ผลการสำรวจการทำงานของประชากร ตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงลา ครั้งที่1/2564 พบว่า ตำบลตลิ่งชัน มีจำนวนประชากร 10,730 คน เป็นผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป 8,029 คน ซึ่งอยู่ในกำลังแรงงาน 4,721 คน คิดเป็นร้อยละ 44.00 ของประชากรรวม และเป็นผู้ที่ไม่อยู่ใน กำลังแรงงาน 3,308 คน คิดเป็นร้อยละ 41.20 ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป
สำหรับกลุ่มผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน ทั้งหมด 4,721 คน แยกได้เป็น
1. ผู้มีงานทำ จำนวน 4,717 คน คิดเป็นร้อยละ 99.92 ของผู้อยู่ในกำลังแรงงาน
2. ผู้ว่างงาน มีจำนวน 4 คน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงาน ร้อยละ0.08 จำแนกเป็น
2.1 ผู้ไม่มีงานทำและพร้อมที่จะทำงาน มีจำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 0.08 ของผู้อยู่ในกำลังแรงงาน
2.2 ผู้ไม่มีงานทำและไม่พร้อมที่จะทำงาน มีจำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0.00 ของผู้อยู่ในกำลังแรงงาน
3. ผู้ที่รอฤดูกาล ซึ่งหมายถึง ผู้ที่ไม่ได้ทำงานและไม่พร้อมที่จะทำงาน เนื่องจากจะรอทำงานในฤดูกาลเพาะปลูกต่อไป มีจำนวน - คน

แผนภูมิ 1 โครงสร้างประชากรตำบลตลิ่งชัน ครั้งที่ 1/2564


ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของประชากร จำแนกตามสถานภาพแรงงานและเพศ

สถานภาพแรงงาน

รวม

ชาย

หญิง

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

ผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป

8,029

100.00

4,061

100.00

3,968

100.00

1. ผู้อยู่ในกำลังแรงงาน

4,721

58.80

2,959

72.86

1,762

44.41

    1.1 กำลังแรงงานปัจจุบัน

 

 

 

 

 

 

         1.1.1 ผู้มีงานทำ

4,717

58.75

2,957

72.81

1,760

44.35

         1.1.2 ผู้ว่างงาน

0

0.08

2

0.07

2

0.11

                 - พร้อมทำงาน

0

0

0

0

0

0

- ไม่พร้อมทำงาน

0

0

0

0

0

0

    1.2 ผู้ที่รอฤดูกาล

0

0

0

0

0

0

2. ผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน

3,308

41.20

1,102

27.14

2,206

55.59

    2.1 ทำงานบ้าน

756

9.42

114

2.81

642

16.18

    2.2 เรียนหนังสือ

1,424

17.73

489

12.04

935

23.56

    2.3 อื่น ๆ 61ขึ้นไป

1,128

14.05

499

12.29

629

15.85


2. ภาวะการมีงานทำของประชากร
2.1 อาชีพ
ประชากรของตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ที่มีงานทำ จำนวน 4,717 คน พบว่าเป็นชาย 2,957 คนและหญิง 1,760 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 72.81 และ 44.35 ของจำนวนผู้มีงานทำตามลำดับ
สำหรับอาชีพของผู้มีงานทำจากผลการสำรวจปรากฏว่า ส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเป็น ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้านการเกษตร ปศุสัตว์และประมง จำนวน 1,821 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 38.57 ของผู้มีงานทำ รองลงมา ประกอบอาชีพเป็น อาชีพอิสระ เช่น ค้าขาย รับจ้างทั่วไป ช่วยธุรกิจครัวเรือน จำนวน 1,231 คน หรือ คิดเป็นร้อยละ 26.07 ของผู้มีงานทำ (ตารางที่ 2)

ตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามอาชีพและเพศ

อาชีพ

รวม

ชาย

หญิง

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

ยอดรวม

4,717

100.00

2,957

100.00

1,760

100.00

1. ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้าน 

การเกษตร ปศุสัตว์และประมง

1,821

 

38.61

1,385

46.84

436

24.77

2. พนักงานบริการและพนักงานในร้านค้าและตลาด

570

 

12.08

220

7.44

350

19.89

3. ผู้ปฏิบัติงานภาคอุตสาหกรรม(โรงงานและเครื่องจักร)

982

 

20.82

531

17.96

451

25.63

4. ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวในหน่วยงานของรัฐ

102

 

2.16

46

1.56

56

3.18

5. อาชีพอิสระ เช่น ค้าขาย รับจ้างทั่วไป ช่วยธุรกิจครัวเรือน

1,227

 

26.01

761

25.77

466

26.25

6. อื่น ๆ อบต.

15

0.32

14

0.47

1

0.06



2.2 สถานภาพการทำงาน
ในจำนวนผู้มีงานทำทั้งสิ้น 4,717 คน เมื่อพิจารณาถึงสถานภาพการทำงานผลการสำรวจครั้งนี้
พบว่า ส่วนใหญ่มีสถานภาพการทำงานเป็น ลูกจ้างเอกชน มีจำนวน 1,667 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 35.34
รองลงมา มีสถานภาพการทำงานเป็น ทำงานส่วนตัว มีจำนวน 1,422 คน คิดเป็นร้อยละ 30.15 (ตารางที่ 3)

ตารางที่ 3 จำนวนและร้อยละของผู้มีงานทำ จำแนกตามสถานภาพการทำงานและเพศ

สถานภาพการทำงาน

 

 

รวม

ชาย

หญิง

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

ยอดรวม

1. นายจ้าง

2. ลูกจ้างรัฐบาล

3. ลูกจ้างเอกชน

4. ทำงานส่วนตัว

5. ช่วยธุรกิจครัวเรือน

6. การรวมกลุ่ม

 

4,717

371

102

1,667

1,422

1,155

 

100.00

7.87

2.16

35.34

30.15

24.49

 

2,952

160

46

1,112

925

714

 

 

100.00

5.42

1.56

37.67

31.26

24.13

 

 

1,760

211

56

555

497

441

 

100.00

11.98

3.18

31.53

28.24

25.06

 



3. ภาวะการว่างงานของประชากร
ประชากรของตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ที่ว่างงาน มีจำนวนทั้งสิ้น 4 คน เป็นชาย 2 คน
และหญิง 2 คน คิดเป็นร้อยละ 50 และ 50 ของผู้ว่างงาน ตามลำดับ
สำหรับอัตราการว่างงานของประชากร ซึ่งหมายถึง สัดส่วนของผู้ว่างงานต่อจำนวนประชากรที่อยู่ในกำลังแรงงาน พบว่า ตำบลตลิ่งชัน มีอัตราการว่างงานร้อยละ 0.08

ตารางที่ 4 จำนวนและอัตราการว่างงาน จำแนกตามเพศ

 

ประชากรรวม

ผู้อยู่ในกำลังแรงงาน

ผู้ว่างงาน

 

จำนวน

อัตรา

ยอดรวม

ชาย

หญิง

10,730

5,487

5,243

4,717

2,957

1,760

4

2

2

0.08

0.00

0.11



4. การเดินทางไปทำงานต่างประเทศ
ประชากรของตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศในการสำรวจข้อมูลด้านแรงงาน ครั้งที่ 1/2564 มีจำนวน 7 คน ส่วนใหญ่เดินทางไปทำงานในประเทศมาเลเซีย จำนวน คน คิดเป็นร้อยละ 100 รองลงมาคือประเทศ – จำนวน 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0
อาชีพที่ประชากรของตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ไปทำงานในต่างประเทศ ส่วนใหญ่ คืออาชีพ ธุรกิจส่วนตัว จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 71.43 รองลงมาคืออาชีพ รับจ้าง จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 28.57
ที่มา รายงานการศึกษาสถานการณ์ด้านแรงงานระดับตำบลประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ
ด้านแรงงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 1/2564

7. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

7.1 การนับถือศาสนา

ข้อมูลการนับถือศาสนาในตำบลตลิ่งชัน

จำแนกตามศาสนา

ศาสนา

ร้อยละ

พุทธ

2.12

คริสต์

0.03

อิสลาม

97.83

ซิกส์

0.00

อินดู

0.00

อื่นๆ

0.02

ที่มา : ข้อมูล จปฐ. 2564


7.2 ประเพณีและงานประจำปี
- ประเพณีวันขึ้นปีใหม่
- งานวันเด็กแห่งชาติ
- งานแข่งขันกีฬาประจำตำบลตลิ่งชัน
- งานแข่งขันนกเขาชวา
- ประเพณีอาชูรอ
- ประเพณีวันฮารีรายอ
- งานผู้สูงอายุ
- งานของดีตำบลตลิ่งชัน

7.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชันได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ วิธีการเลี้ยงนกเขาชวา วิธีการทำการประมง การฟังเสียงปลา (ดูหลำ)
ภาษาถิ่น 1. ภาษาใต้
                 2. ภาษามาลายู

7.4 OTOP สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
สินค้า OTOP ในตำบลตลิ่งชัน มีดังนี้
 1. จักสานด้วยเชือกพลาสติด  2. มัลเบอร์รี่บ้านบ้านป่างาม
 3. สัตว์น้ำทะเลแปรรู  4. อาหารพื้นบ้าน ต.ตลิ่งชัน
 5. ก๊ะนาค้าเสื้อ
ที่มา : สำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอจะนะ ณ วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ 2565

8. ทรัพยากรธรรมชาติ

8.1 น้ำ
แหล่งน้ำ ในพื้นที่ ตำบลตลิ่งชัน

ลำดับที่

ประเภทแหล่งน้ำ

พื้นที่

ชื่อหมู่บ้าน

หมู่ที่

1

ห้วยท่าคลอง (คลองนาทับ

บ้านสุเหร่า

บ้านนนท์

บ้านป่างาม

1

5

3

2

คลองลึก

บ้านสุเหร่า

บ้านนนท์

บ้านป่างาม

1

5

3

3

คลองแมแน

บ้านป่าเส

บ้านนาตีน

บ้านป่างาม

บ้านนนท์

4

6

3

5

4

คลองสาคู

บ้านสุเหร่า

บ้านป่าเส

บ้านนาตีน

บ้านนนท์

1

4

6

5

5

คลองแลนยาง

บ้านวังงู

บ้านตลิ่งชัน

บ้านในไร่

8

2

7

6

สระ

บ้านป่างาม

3

7

ชายหาดและทะเล

บ้านตลิ่งชัน

บ้านในไร่

บ้านวังงู

2

7

8



8.2 ป่าไม้
- ในพื้นที่ไม่อยู่ในเขตป่าไม้

8.3 ภูเขา
-ในพื้นที่ไม่มีภูเขา

8.4 ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
- ในพื้นที่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ คือ ปะการังเทียมเป็นแหล่งเพาะพันธ์และที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำในทะเล ในพื้นที่ติดชายทะเล หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 7 และ หมู่ที่ 8

9. แผนที่

1. ประวัติความเป็นมาของตำบลตลิ่งชัน

       ตำบลตลิ่งชัน เดิมเป็นส่วนหนึ่งที่แยกจากตำบลบ้านนา ประชาชนอพยพมาจากหลายท้องถิ่นเพื่อ ทําอาชีพประมงขนาดเล็กชายฝั่งทะเลอ่าวไทย และได้แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 หมู่ ประชากรร้อยละ 98 นับถือศาสนาอิสลามและร้อยละ 2 นับถือศาลนาพุทธ

       1.1 ชื่อหมู่บ้านในตำบลตลิ่งชัน

       หมู่ที่ 1 บ้านสุเหร่า
       นางหวันปิเหย๊ะ ล่าเต๊ะเก๊ะ เล่าเดิมบ้านสุเหร่าอาศัยติดอยู่ริมคลอง (ทางทิศตะวันตก) ในฤดูฝน น้ำจะท่วมประจำ ดังนั้นจึงมีการย้ายบ้านเรือนประมาณ 80ปีที่ผ่านมา มาตั้งถิ่นฐาน ณ บริเวณบ้านสุเหร่า ในปัจจุบัน ชื่อ “บ้านสุเหร่า” มาจากผู้นำชื่อ ต่วนดลรา เซ้ง และต่วนฮาซัน สองพี่น้องได้สร้างบ้านสุเหร่า (บาลาเซาะฮ์) เพื่อประกอบศาสนกิจ และได้กลายเป็นศูนย์กลางของหมู่บ้าน ฉะนั้นพวกชาวบ้านเมื่อถึงเวลาทำพิธีละหมาดที่สุเหร่ากันทุกวัน จึงได้ใช้ชื่อ สุเหร่านี้ เป็นชื่อหมู่บ้าน จึงเป็นที่มาของ “บ้านสุเหร่า” เดิมบ้านสุเหร่าจัดอยู่ในหมู่ที่ 1 ตำบลบ้านนา แต่เมื่อเปลี่ยนแปลงการแบ่งเขตการปกครองในพ.ศ.2526 ได้จัดให้อยู่ในหมู่ที่1 ตำบลตลิ่งชัน ยังใช้ชื่อเดิมว่า “บ้านสุเหร่า”

       หมู่ที่ 2 บ้านตลิ่งชัน
       นางหวา หวังหลำ เล่าว่า ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ส่วนมากมาจากตำบลนาทับ ตำบลสะกอมเดิม หมู่บ้านตลิ่งชัน เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในตำบลบ้านนา เมื่อแยกจากตำบลบ้านนาออกมาเป็นหมู่บ้านตลิ่งชัน สาเหตุที่เรียกชื่อบ้านตลิ่งชันก็เนื่องจากบริเวณหมู่บ้านเป็นชายทะเล บริเวณชายทะเลที่มาจรดหมู่บ้านจะมีลักษณะความสูงชันอยู่มาก ซึ่งไม่เหมือนกับชายทะเลทั่วไป ราษฎรในหมู่บ้านตั้งชื่อหมู่บ้านตลิ่งชันมาจนถึงทุกวันนี้

       หมู่ที่ 3 บ้านป่างาม
       นางแมะ หัดเหาะ เล่าว่าบ้านป่างาม เดิมเป็นหมู่บ้านชื่อป่าห้ามสมัยก่อนเป็นหมู่บ้านที่มีป่าหนาทึบมีสัตว์ป่าดุร้ายหลายชนิด และเป็นแหล่งซ่องสุมโจรมีการปล้นวัว ควายของชาวบ้านต่อมาราษฎรได้ขยายบ้านเรือนมีความเจริญเพิ่มขึ้น และจัดตั้งโรงเรียนโดยมี นายสัน ยีแหล่หมัน เป็นผู้บริจาคที่ดินเพื่อก่อตั้งโรงเรียนในหมู่บ้านและได้ตั้งชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียนบ้านป่างาม จึงได้เปลี่ยนคำว่าหมู่บ้านป่าห้ามเป็น “หมู่บ้านป่างาม” มาจนทุกวันนี้และมีเรื่องเล่าต่อกันว่า ที่บ้านป่างามมีสถานทีหนึ่งที่เรียกว่า “สีหมัด” เป็นสถานที่ฝังเงิน ทอง อาวุธที่โจรได้ปล้นมาจากชาวบ้าน ในปัจจุบันใช้เป็นสถานที่ฝังศพหรือกุโบร์ของคนบริเวณนั้น

       หมู่ที่ 4 บ้านป่าเส
       นายเหร๊าะหมัน โส๊ะเมาะ เล่าว่า “บ้านป่าเส” เดิมเป็นหมู่บ้านที่อยู่ในตำบลบ้านนา ซึ่งแยกออกมาเป็นหมู่ที่ 4 ตำบลตลิ่งชันในปี พ.ศ. 2525 เดิมหมู่ที่4 บ้านป่าเส มีพื้นทีเป็นป่ารกทึบ เมื่อโคนป่าออกก็จะพบว่าพื้นดินเป็นดินทรายจำนวนมาก จนเป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน ชาวบ้านในหมู่บ้านและชาวบ้านจากถิ่นอื่นมักเอาทรายในหมู่บ้านไปทำประโยชน์เป็นส่วนมาก คำว่า ทราย ทางภาษายาวีที่ชาวอิสลามใช้พูดกันว่า “ป่าเส” จึงเรียกกันติดปากว่า “บ้านป่าเส” จนมาถึงทุกวัน

       หมู่ที่ 5 บ้านนนท์
       นายหวอ เหลาะแห็ม เล่าว่า เดิมคนในหมู่บ้านนี้อยู่ในตำบลบ้านนา เมื่อปี 2526 ได้แยกจากตำบลบ้านนามาเป็นตำบลตลิ่งชัน มีผู้ใหญ่บ้านหวัง เป็นผู้ก่อตั้งชุมชนบ้านนนท์ ชื่อหมู่บ้าน “บ้านนนท์”นี้ มีที่มาจากในพื้นที่บริเวณหมู่บ้านนี้มีไม้นนท์อยู่จำนวน 1 ต้น มีขนาดใหญ่มากและจุดเด่น หรือสัญลักษณ์ของคนที่เดินผ่านไปมา ต่อมาเมื่อมีการขยายบ้านเรือนราษฎรตัดทำลายต้นนนท์ลง เมื่อได้แยกหมู่บ้านจากตำบลบ้านนาก็ได้ตั้งชื่อหมู่บ้านตามชื่อต้นไม้นนท์ก็คือ “หมู่บ้านนนท์” จนถึงปัจจุบันนี้
       นายหมาด เหล๊าะเหม ชื่อก่อนหน้านี้คือ บ้านดน ได้อิทธิพลมาจากท่าเรือและคลอง เลยนำมาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้าน หลังจากนั้นต่อมา มีการเรียกชื่อใหม่เป็นบ้านนนท์ จากการเรียกชื่อเสียงเพี้ยนต่อมา ชื่อในภาษามลายูคือ กำปงทนง (ทา-นง) เมื่อ 40 ปีก่อน ได้มีปอเนาะขึ้นชื่อของบ้านนนท์ ชื่อว่า ปอเนาะโต๊ะเยาะ เส็นหลีมีน ปัจจุบันไม่ได้มีปอเนาะนี้แล้ว จากสาเหตุเนื่องจากไม่มีผู้สานต่อในรุ่นลูก แต่ในรุ่นหลาน ณ ปัจจุบันมีการพูดคุยเรื่องที่จะกลับมาทำปอเนาะต่ออีกครั้ง

       หมู่ที่ 6 บ้านนาตีน
       นายเจะอะ โพธิ์เหาะ เล่าว่า ผู้นำในหมู่บ้านคือหมะยีวอ เป็นบุคคลที่บุกเบิกและได้ก่อตั้งชุมชนบ้านนาตีนขึ้นมา เดิมชุมชนนี้เป็นหมู่ที่ 11 ตำบลบ้านนา ซึ่งได้แยกจากตำบลบ้านนามาเป็นหมู่ที่ 6 ตำบลตลิ่งชัน เมื่อปี 2525 เหตุที่ชื่อว่า “บ้านนาตีน” เนื่องจากเดิมอยู่ในเขตการปกครองของตำบลบ้านนา ส่วนคำว่า “ตีน” มีที่มาจากคลองซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตก ไหลมาจากประกอบผ่านอำเภอนาทวี แล้วไหลลลงมาสิ้นสุดที่บ้านนาตีน สิ้นสุดที่ปลายสุดของหมู่บ้าน เมื่อดูจากอวัยวะในร่างกายจะเห็นอยู่สุดท้ายเมื่อมองจากศรีษะลงมา ชาวบ้านจึงคิดและตั้งชื่อว่า “หมู่บ้านนาตีน”

       หมู่ที่ 7 บ้านในไร่
       นายเจะอะ โพธิ์เหาะ เล่าว่า “บ้านในไร่”เดิมเป็นหมู่บ้านในตำบลบ้านนาและได้แยกออกมาเป็นตำบลตลิ่งชันเมื่อปี 2525 ราษฎรส่วนใหญ่เป็นราษฎรที่มาจากตำบลนาทับและตำบลสะกอม นับถือศาสนาอิสลาม เนื้อที่ในหมู่บ้านในไร่ แต่เดิมเป็นป่าเสม็ดเกือบทั้งพื้นที่ ต่อมาราษฎรได้ทำการโค่นป่า แล้วมาทำไร่ ทำสวน ปลูกบ้านอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงได้ตั้งชื่อตามสภาพพื้นที่การใช้งานและเรียกว่า “บ้านในไร่” จนถึงทุกวันนี้

       หมู่ที่ 8 บ้านวังงู
       นายเจะอะ โพธิ์เหาะ เล่าว่าพื้นที่บริเวณนี้มีลักษณะเป็นป่ารกทึบ และมีสัตว์ป่าอยู่มากมาย มีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ เรียกอีกอย่างว่า “วังป่า” ซึ่งเป็นที่อยู่ของงูจำนวนมาก ชาวบ้านที่ไปหาของป่าเห็นงูอยู่บริเวณนั้น เลยเรียกชื่อพื้นที่บริเวณนั้นว่า “วังงู” ต่อมาเมื่อชาวบ้านอพยพเข้ามาอยู่มาก เข้างูที่อยู่ในบริเวณนั้นย้ายไปอยู่ที่อื่น เมื่อมีการตั้งหมู่บ้าน ใช้ชื่อว่า “บ้านวังงู” เพราะเป็นสัญลักษณ์ที่ทุกคนในหมู่บ้านรู้จักกันดี บ้านวังงูเดิมเป็นส่วนหนึ่งที่แยกจากม.2 บ้านตลิ่งชัน

วิสัยทัศน์
“ตำบลก้าวหน้า การศึกษาก้าวไกล ใส่ใจคุณภาพชีวิต สร้างเศรษฐกิจที่มั่นคง ชุมชนเข้มแข็ง ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ นำหลักธรรมาภิบาล”
พันธกิจ
พันธกิจที่ 1 จัดทำ ส่งเสริม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และโครงข่ายคมนาคมให้พอเพียงทันสมัย
พันธกิจที่ 2 สนับสนุนการสร้างชุมชนเข้มแข็ง และมีระบบการรักษาความปลอดภัย
พันธกิจที่ 3 พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนให้อยู่อย่างมีคุณภาพ
พันธกิจที่ 4 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พันธกิจที่ 5 ส่งเสริมและพัฒนาด้านการผลิต การค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและกีฬา
พันธกิจที่ 6 ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา ประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
พันธกิจที่ 7 สนับสนุน และส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี